|
TM
|
|

รีไฟแนนซ์บ้าน
|

รีไฟแนนซ์รถยนต์
|

รีไฟแนนซ์บัตรเครดิต
|
รีไฟแนนซ์รถจักรยานยนต์ |
ดอกเบี้ย 4 - 5 % |
ดอกเบี้ยเริ่มต้น 3.0% |
ดอกเบี้ย 25-28% |
กู้ 10,000 ผ่อน 5xx บาท / เดือน |
|
|
" รับปิดบัญชีภาระหนี้ ให้คุณสามารถยื่นขอสินเชื่อบ้าน หรือ รีไฟแนนซ์บ้านได้ " |
|
|
 |
|
|
|
|
บริการยื่นรีไฟแนนซ์บ้าน+เงินเพิ่ม |
รายละเอียด |
›อยากรี ฯ บ้านแต่ภาระเยอะ |
› อยากดันราคาประเมิน |
› เรารับปิด บช ภาระ ยื่นสินเชื่อ |
› สบายๆโทรปรึกษากันครับ |
บริการ ฟรี โทร 02-571-1925 |
|
|
|
|
บริการปิดบัญชีรีไฟแนนซ์บ้าน |
รายละเอียด |
›อยากรี ฯ บ้านแต่ภาระเยอะ |
› อยากดันราคาประเมิน |
› ต้องปิดบัญชีรายจ่ายยื่นกู้ใหม่ |
› เราจัดการได้ |
โทรสอบถาม 02-571-1925 |
|
|
|
|
บริการสินเชื่อธุรกิจกู้ sme OD |
รายละเอียด |
› มีประวัติผ่อนชำระดี |
› วงเงินสินเชื่อเดิมเต็มอยากได้เพิ่ม |
› ต้องการย้ายวงเงินดอกเบี้ยถูกลง |
› จัดหา บ.ประเมินราคาได้สูงสุด |
โทรมาขอคำปรึกษาได้ครับ |
|
|
|
.png) ปรึกษาสินเชื่อ : ID:HOMELOAN ,
02-571-2223
( 8 สายนอก 24 สายใน ), 02-571-1923-5 , 061-692-4939
|
|
|
|
บ้าน |
ธนาคารที่สนใจ |
วงเงิน |
โทร |
IP |
 รณกร xxxxxx |
|
BBL,KTB,SCB,KBANK, KRUNGSRI,GSB,THANACHART,CIMB, TMB,UOB,GHB,
(
3
)
|
1,220,000
|
091009-xxxx |
223.24.152.242 |
 รณกร xxxxxx |
|
BBL,KTB,SCB,KBANK, KRUNGSRI,GSB,THANACHART,CIMB, TMB,UOB,GHB,
(
3
)
|
1,220,000
|
091009-xxxx |
223.24.152.242 |
 ณิชาภา xxxxxx |
|
BBL,SCB,KBANK, TMB,GHB,
(
3
)
|
900,000
|
095541-xxxx |
110.169.223.137 |
 วัชรชัย xxxxxx |
|
(
3
)
|
1,100,000
|
082626-xxxx |
192.200.9.36 |
 ดนัย xxxxxx |
|
KTB,GSB,THANACHART,CIMB, TMB,GHB,
(
3
)
|
1,780,000
|
085570-xxxx |
49.231.2.18 |
|
|
รีไฟแนนซ์บ้านคืออะไร ? |
รีไฟแนนซ์บ้าน มีที่มาเริ่มต้นจากการที่เรากู้ยืมเงินกับธนาคารเพื่อซื้อทรัพย์สินในที่นี้คือบ้านและ เรามีสัญญาผูกพันกับธนาคารว่าต้องผ่อนชำระหนี้ดังกล่าวให้หมดภายในกี่ปี โดยสัญญาดังกล่าวมีหลักทรัพย์กรณีนี้คือบ้านเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันๆแต่ละธนาคารก็จะมีอัตราดอกเบี้ยให้กับลูกค้าในตอนเริ่มต้นขอใช้บริการซึ่งส่วนใหญ่ จะล่อใจให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการ สินเชื่อบ้าน ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ ๆในปี ที่ 1-3 โดยหลังจากนั้นก็จะเป็นดอกเบี้ยแบบลอยตัว หรือ MLR- แล้วแต่กรณี เนื่องจากธนาคารมีต้นทุน ไม่สามารถจะให้อัตราดอกเบี้ยต่ำ ไปตลอดอายุสัญญาได้
 ดังนั้นเมื่อสิ้นระยะของดอกเบี้ยโปรโมชั่น และเข้าสู่ดอกเบี้ยในอัตราปกติ จะทำให้เราต้องมีภาระผ่อนชำระสูงขึ้นบางครั้งสูงขึ้น 1-2% (เช่นวงเงินกู้ 3 ล้านบาท 2% ต่อปีก็คือ 60,000 บาท หรือคิดเป็นภาระผ่อนชำระเพิ่มขึ้นถึง 5,000 บาท/เดือน) เป็นภาระของผู้ผ่อนชำระ หนทางที่จะแก้ปัญหานี้คือ ย้ายธนาคารไปสู่ธนาคารที่มีดอกเบี้ยต่ำ เหมือนน้ำที่ไหลจากที่สูงสู่ที่ต่ำ ดอกเบี้ยต่ำอยู่ไหนก็จะไหลกันไปทางนั้น การย้ายวงเงินผ่อนชำระนี้เองเรียกว่าการ รี ("ทำซ้ำ")ไฟแนนซ์("การเงิน") คือการ รีไฟแนนซ์ (Refinance ) นั่นเอง
|
 นอกจากการ สินเชื่อบ้านแบบย้ายธนาคาร (รีไฟแนนซ์) )แล้วยังมีสินเชื่อบ้านสำหรับคนมีบ้านแบบใดอีกบ้าง สินเชื่อที่เกี่ยวกับบ้านมีสองลักษณะคือสินเชื่อสำหรับผู้ที่มีบ้านแล้ว และสินเชื่อสำหรับคนที่ยังไม่มีบ้าน ซึ่งประกอบด้วยสินเชื่อดังต่อไปนี้คือ
 - กรณีต้องการซื้อบ้านใหม่
 - สินเชื่อสำหรับซื้อบ้านใหม่ (จากโครงการหรือไม่ใช่โครงการแต่ต้องเป็นบ้านสร้างใหม่)
 - สินเชื่อสำหรับปลูกสร้างบ้านบนที่ดินเปล่า
 - กรณีต้องการซื้อบ้านมือสอง
 - สินเชื่ือสำหรับซื้อบ้านมือสอง
 - สินเชื่ือสำหรับซื้อบ้านมือสองพร้อมก่อสร้างหรือตกแต่้งเพิ่มเติม
 - กรณีมีบ้านอยู่แล้ว(ยังมีภาระผ่อนชำระ)
 - รีไฟแนนซ์บ้านหลังเดิม(ย้่ายธนาคารไม่มีกู้เพิ่ม)
 - รีไฟแนนซ์บ้านหลังเดิมพร้อมกู้เพิ่ม(ย้่ายธนาคารมีกู้เพิ่ม)
 - กู้เพิ่มจากธนาคารเดิมเพื่ออุปโภคบริโภค(ไม่ย้ายธนาคาร)
 - กรณีมีบ้านอยู่แล้ว(ปลอดภาระผ่อนชำระ)
 -บ้านปลอดภาระแล้วนำไปค้ำประกันเงินกู้(รีไฟแนนซ์)เพื่อการอุปโภคบริโภค ( Cash To Home )
|
จุดประสงค์ในการรีไฟแนนซ์บ้าน |
 จุดประสงค์ใน การรีไฟแนนซ์บ้านเป็นไปในสามลักษณะคือ
 หนึ่ง กรณียังผ่อนชำระรีไฟแนนซ์บ้าน เืพื่อให้มีภาระผ่อนชำระน้อยลง (ไม่กู้เพิ่ม) หลังจากที่ครบ วาระดอกเบี้ยโปรโมชั่น อาจจะ 1 หรือ 3 ปี แล้วแต่โปรโมชั่นที่คุณรับมาจากธนาคาร เพราะหลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยมักเป็นไปในลักษณะลอยตัว (MLR) หรือ ลอยตัวแล้วมีส่วนลด คือ MLR- ซึง MLR แต่ละธนาคารก็จะไม่เ่ท่ากัน ผู้ที่ต้องการจะรีไฟแนนซ์ก็ต้องมาตรวจสอบดูส่วนต่าง ระหว่างการใช้ดอกเบี้ยอยู่กับธนาคารเดิม กับ ค่าใช้จ่ายหลังจากรีไฟแนนซ์ไปยังธนาคารใหม่ว่ามีส่วนลดให้มากพอที่จะทำเรื่องไฟแนนซ์ไปหรือไม่ซึ่งทุกปี แต่ละธนาคารก็จะแ้ข่งขันกันออกโปรโมชั่นดอกเบี้ย ดึงลูกค้ากันเอง เราก็ต้องมาคอยตรวจสอบว่าที่ไหนดี่ที่สุด เทียบกับที่เราใช้อยู่ บวกลบ แล้วมีกำไรคุ้มค่าก็ดำเนินการย้ายไปได้เลย
 สอง กรณียังผ่อนชำระรีไฟแนนซ์บ้าน เพื่อนำส่วนต่างออกมาใช้จ่าย(กู้เพิ่มจากวงเงินเดิม) แบบที่สอง อาจจะทำให้ภาระผ่อนชำระในส่วนของบ้านเพิ่มขึ้น แต่ก็เป็นแนวทางในการหาเงินทุนหมุนเวียน ในกิจการของคุณ หรือ ่ถ้ากรณีคุณนำส่วนต่างที่ได้จากการรีไฟแนนซ์บ้านไปชำระหนี้ในส่วนอื่น เช่น ไปปิดบัตรเครดิตซึี่งอัตราดอกเบี้ยกว่า 25-28% เทียบกับดอกเบี้ยบ้านทถูกกว่า ก็เป็นแนวทางที่น่าสนใจ (แต่คงไม่มีวิธีใดดีไปกว่าไม่เป็นหนี้บัตรเครดิต(ซึ่งดอกเบี้ยแพงที่สุดในระบบ)เลย )
 สาม คือกรณีบ้านไม่มีภาระแ้ล้ว รีไฟแนนซ์บ้านวิธีนี้จะได้ต้นทุนถูกที่สุด ประมาณ 4-5% แตกต่างจากกรณีเรามีภาระผ่อนชำระอยู่แล้วขอกู้เพิ่ม ส่วนกู้เพิ่มมักถูกคิดอัตราดอกเบี้ยอุปโภคบริโภค ซึ่งอยู่ประมาณ 12-15% |
ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์บ้าน |
จะเริ่มต้นอย่างไร
 หนึ่ง กรณียังผ่อนชำระต้องการ รีไฟแนนซ์บ้านเืพื่อให้มีภาระผ่อนชำระน้อยลง (ไม่กู้เพิ่ม) กรณีนี้ท่านเพียงตรวจสอบกับธนาคารว่าที่ใดให้ อัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุด ในเงื่อนไขที่ดีที่สุด ก็ยื่นเอกสารกับธนาคารนั้นได้เลย
 สอง กรณียังผ่อนชำระรีไฟแนนซ์บ้านเพื่อนำส่วนต่างออกมาใช้จ่าย(กู้เพิ่มจากวงเงินเดิม) กรณีนี้ท่านมีภาระต้องดำเนินการอย่างน้อยสองประการคือ
 1.ตรวจสอบอัตราดอกเบี้ยและ เงื่อนไขที่ดีที่สุด จากธนาคาร
 2.ยื่นเอกสารกับธนาคารเป้าหมายอย่างน้อย 3 แห่งขึ้นไปหรือมากกว่า
 3.เลื่อกเอาธนาคารที่ให้วงเงินสูงที่สุด |
ทำไมต้องยื่นหลายธนาคาร ..สมมติว่าธนาคารที่ท่านยื่น ให้เงื่อนไขว่าให้กู้ยืมได้ ไม่เกิน 110%ของราคาประเมิน ปัญหาคือ แต่ละธนาคารมีการประเมินราคาหลักทรัพย์แตกต่างกันเนื่องจากใช้บริษัทประเมินราคาคนละบริษัท ดังนั้น ราคาตั้งตั้นที่จะใช้คิดก็แตกต่างกัน (จากประสบการณ์ผู้เขียนเคยยื่นพร้อมกันประมาณ 5 ธนาคาร ผลลัพท์คือ ราคาประเมินธนาคารที่สูงที่สุดกับต่ำที่สุดแตกต่้างกันเกือบ 20%) นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมต้องยื่นหลายๆ ที่ พร้อม ๆ กัน |
เกี่ยวกับบริษัทประเมินราคาบ้าน..ใครเป็นผู้ประเมินราคาทรัพย์สินของท่าน คำตอบคือบางธนาคารใช้ บริษัทประเมินราคาทรัพย์สินที่ได้รับความเห็นชอบจาก กลต (สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์) บางธนาคารใช้บริษัทประเมินราคาซึ่งเป็นบริษัทลูกของธนาคาร |
จะรีไฟแนนซ์ได้วงเงินเท่าไร.ท่านจะทราบต่อเมื่อบริษัทประเมินราคาได้ทำการประเมินราคาทรัพย์สินของท่านแล้วโดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 7-15 วันนับแต่วันที่ท่านยื่น ขอรีไฟแนนซ์ ค่าใช้จ่ายในการประเมินราคาทรัพย์สินประมาณ 2,500 บาท แล้วแต่ๆ ละธนาคาร |
อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมในการรีไฟแนนซ์ตามประกาศแต่ละธนาคาร ( ดอกเบี้ย /วงเงินกู้ ) |
|
ไม่เกินหนี้เดิม |
|
85 % ของราคาประเมิน |
|
100% ของราคาประเมิน |
|
100% ของราคาประเมิน |
|
90 % ของราคาประเมิน |
|
90% ของราคาประเมิน |
|
100% ของราคาประเมิน |
|
|
|
90% ของราคาประเมิน |
|
100% ของราคาประเมิน |
|
90% ของราคาประเมิน |
|
|
|
ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บ้าน: ( UPDATE 29/09/2559 ) |
ชื่อธนาคาร / รายการ |
|
|
|
|
|
|
MLR(%) / MRR(%) |
7.625% |
6.275% |
7.62% |
7.62% |
7.70% |
7.125% |
ค่าประเมินราคาทรัพย์สิน |
2,500 |
1,000-2,500 |
3,000-4,000 |
3,000 |
3,000 |
2,000-3,700 |
ค่าธรรมเนียมจัดการวงเงินกู้ |
- |
1,000-3,000 |
1,000-3,000 |
3,000 |
1,000-3,000 |
1,000-3,000 |
ค่าอากรแสตมป์ (ติดสัญญา) |
200/1 |
200/1 |
200/1 |
200/1 |
200/1 |
200/1 |
ค่าจำนองที่่ดิน |
1% |
1% |
1% |
1% |
1% |
1% |
ค่าปรับปิดบัญชีก่อนกำหนด |
3% |
3% |
3% |
3% |
3% |
3% |
อื่นๆ (ค่าออกเช็ค,ค่านิติกรรม) |
1,000-2,000 |
1,000-2,000 |
1,000-2,000 |
1,000-2,000 |
1,000-2,000 |
1,000-2,000 |
ประกันภัยประกันชีวิต |
ตามนโยบาย |
ตามนโยบาย |
ตามนโยบาย |
ตามนโยบาย |
ตามนโยบาย |
ตามนโยบาย |
|
|
|
|
|
|
|
|
ชื่อธนาคาร / รายการ |
|
|
|
|
|
|
MLR(%) / MRR(%) |
6.65% |
7.90% |
7.775% |
7.90% |
6.75% |
|
ค่าประเมินราคาทรัพย์สิน |
3,000 |
2,675 |
ฟรี |
3,210 |
1,900-3,100 |
|
ค่าธรรมเนียมจัดการวงเงินกู้ |
1,000-3,000 |
1,000-3,000 |
1,000-3,000 |
1,000-3,000 |
1,000-3,000 |
|
ค่าอากรแสตมป์ (ติดสัญญา) |
200/1 |
200/1 |
200/1 |
200/1 |
200/1 |
|
ค่าจำนองที่่ดิน |
1% |
1% |
1% |
1% |
1% |
|
ค่าปรับปิดบัญชีก่อนกำหนด |
3% |
3% |
3% |
3% |
3% |
|
อื่นๆ (ค่าออกเช็ค,ค่านิติกรรม) |
1,000-2,000 |
1,000-2,000 |
1,000-2,000 |
1,000-2,000 |
1,000-2,000 |
|
ประกันภัยประกันชีวิต |
ตามนโยบาย |
ตามนโยบาย |
ตามนโยบาย |
ตามนโยบาย |
ตามนโยบาย |
|
|
|
|
|
|
|
|
ระยะเวลาในการดำเนินการ หลังจากยื่นเอกสาร 7-15 วันจะมีการประเมินราคาทรัพย์สิน อนุมัติและโอนกรรมสิทธิ์เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน หรือ ไม่เกิน 45 วันแล้วแต่ธนาคาร |
|
เอกสารในการยื่นรีไฟแนนซ์บ้าน |
1 |
สำเนาบัตรประชาชน/รัฐวิสาหกิจ/ข้าราชการพร้อมฉบับจริง |
2 |
สำเนาทะเบียนบ้าน ทุกหน้า ทุกคนพร้อมฉบับจริง |
3 |
สำเนาทะเบียนสมรส/ใบหย่า/ในมรณะบัตร/ใบแจ้งความแยกกันอยู่ พร้อมฉบับจริง |
4 |
สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของคู่สมรสพร้อมฉบับจริง |
5 |
สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล(ถ้ามี)พร้อมฉบับจริง |
6 |
ใบรับรองเงินเดือน (ฉบับจริง) หรือ หนังสือผ่านสิทธิสวัสดิการข้อตกลง (ฉบับจริง) |
7 |
สลิปเงินเดือนหรือหลักฐานการรับรองเงินเดือนปัจจุบัน 3 เดือน ย้อนหลัง(ฉบับจริง ) |
8 |
สำเนาบัญชีเงินฝากแสดงรายการย้อนหลัง 6 เดือน หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่น ๆ พร้อมฉบับจริง หรือ Statement พร้อมรับรอง |
9 |
สำเนาทะเบียนการค้า/ทะเบียนบริษัท/ห้างหุ้นส่วนฯ(ภงต.90, 91, ทวิ 50, หนังสือหักภาษี ณ ที่จ่าย) *กรณีประกอบธุรกิจ |
10 |
หลักฐานการเสียภาษีเงินได้พร้อมใบเสร็จตัวจริงจากกรมสรรพากร ย้อนหลัง 6 เดือน *กรณีประกอบธุรกิจ |
11 |
รูปถ่ายกิจการ จำนวน 3-4 รูป *กรณีประกอบธุรกิจ |
12 |
สำเนาในประกอบวิชาชีพ, ในอนุญาตประกอบการ *กรณีประกอบอาชีพส่วนตัว |
13 |
ใบเสร็จการผ่อนชำระย้อนหลัง 24 เดือน(กรณีไถ่ถอน) |
14 |
สำเนาโฉนดที่ดิน/นส.3ก/หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด/อช.2(2ชุด) พร้อมรับรองจาก สนง.ที่ดิน |
|
ปัญหาเกี่ยวกับการยื่นกู้ และ ตัวผู้ยื่นกู้ |
ถาม |
สมมติผ่อนชำระประมาณเดือนละ 10,000 บาทผุ้กู้ต้องมีรายได้อย่างน้อยเท่าไร |
ตอบ |
เมือหักภาระผ่อนชำระทุกอย่างแล้ว ผู้กู้ควรจะมีเงินเหลืออย่างน้อย 30% ของยอดผ่อนชำระ |
ถาม |
รายได้คนเดียวไม่พอกู้ ทำอย่างไร |
ตอบ |
กู้ร่วมได้ครับ พ่อ แม่ พี่น้อง สามีภรรยา ครับ( หากเป็นกรณีซื้อรถกู้ร่วมได้เฉพาะ พ่อแม่ สามีภรรยา ) |
|
ประกันประเภทต่างๆที่ขายควบคู่กับสินเชื่อบ้าน |
1 |
อัคคีภัย เป็นความคุ้มครองพื้นฐานของลูกค้าสินเชื่อบ้าน |
2 |
คุ้มครองวงเงินกู้ คือประกันชีวิตที่คุ้มครองลูกค้าธนาคารกรณีเสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพ บริษัทประกันจะเป็นผู้ปลดภาระหนี้นั้นๆ |
3 |
คุ้มครองการชดเชยรายได้ เป็นความคุ้มครองเพิ่มเติมชดเชยรายได้ให้แก่ผู้กู้กรณีไม่เสียชีวิตแต่ต้องหยุดทำงาน |
4 |
คุ้มครองการว่างงาน คุ้มครองทั้งกรณีว่างงานและเสียชีวิต |
|
ยอดผ่อนชำระต่อเดือน และ ต้องมีรายได้เท่าไรจึงจะกู้ได้ |
 |
วิธีคิดค่าผ่อนชำระต่อเดือน สมมติว่า บ้านราคา 1,000,000 บาท ผ่อนชำระ 30 ปี ดอกเบี้ย 6.5% / ปี
1.คิดดอกเบี้ยต่อเดือน = 1,000,000 x 6.5%=65,000 บาท / ปี หรือ เท่ากับ 65,000 / 12 = 5,416 บาท / เดือน
2.คิดเงินต้นต่อเดือน = 1,000,000/30 ปี = 33,333 / ปี หรือ 33,333 / 12 =2,777 / เดือน
3.รวมอัตราผ่อนชำระต่อเดือน = 5,416+2,777= 8,193 / เดือน
4.ผู้กู้ต้องมีเงินเหลืออย่างน้อย 30% หลังจากผ่อนชำระบ้านดังนั้นต้องมีรายได้อย่างน้อย = (8,193 x 30%= 2,457)+8,193= 10,650 บาท
คิดง่าย ๆก็ ประมาณ 100 เท่าของรายได้ต่อเดือน ครับผม นั่นคือ เงินเดือน10,000 บาท กู้ซื้อบ้านราคา 1,000,000 บาทได้ครับ
สูตรคำนวนคลิก |
|
ประโยชน์ของการรีไฟแนน์บ้าน |
 1.ทำให้เราได้ดอกเบี้ยที่ถูกลงนั่นลง ภาระผ่อนชำระน้อยลง
 2.กรณีที่รีไฟแนนซ์บ้านเพื่อต้องการเงินส่วนต่าง สามารถนำเงินส่วนต่างไปหมุนเวียนใช้จ่ายหรือหมุนเวียนในธุรกิจ
 3.ในภาวะดอกเบี้ยสูง สามารถรีไฟแนนซ์ไปแบบดอกเบี้ยคงที่ตลอดอายุสัญญาป้องกันความเสี่ยงเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่ควบคุมไม่ได้ |
ข้อควรระวังในการรีไฟแนนซ์บ้าน
|
 1.ควรคำนวนค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการรีไฟแนนซ์ให้ดี ฉะนั้นการรีไฟแนนซ์อาจจะไม่คุ้มค่า
 2.MLR แต่ละธนาคารไม่เท่ากัน การเปรียบเทียบดอกเบี้ยหลังหมดโปรโมชั่นเช่น MLR-1 ของแต่ละธนาคารจึงไม่เท่ากัน
 3.บางธนาคารท่านสามารถต่อรองดอกเบี้ยหลังหมดโปรโมชั่นได้ นั่นคือท่านอาจจะไม่จำเป็นต้องรีไฟแนนซ์ก็ได้
 4.ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บางธนาคาร มีโปรโมชั่นเช่น ฟรีจดจำนอง ( แต่จะรวมอยู่ในดอกเบี้ย ) เหมาะสำหรับท่านที่ไม่สะดวกเตรียมค่าจดจำนอง(1%)ในวันที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์
 5.ประกันภัยประกันชีวิตประเภทต่างๆที่ธนาคารขายคู่กับสินเชื่อเป็นเรื่องที่สามารถต่อรองได้ควรเลือกที่เหมาะสมกับท่าน
 6.การรีไฟแนนซ์การระยะดอกเบียโปรโมชั่นปกติจะประมาณ 3%แต่บางธนาคารสูงถึง 5% ท่านต้องตรวจสอบให้ถี่ถ้วนการเลือกใช้ |
สรุปวิธีการรีไฟแนนซ์บ้านให้มีเงินเหลือ
|
- สรุปวิธีการที่รีไฟแนนซ์เงินเหลือ
- 1. ตรวจสอบต้นทุนการรีไฟแนนซ์เช่น ค่าปรับกรณีการรีไฟแนนซ์ก่อนกำหนด (3%) ค่าจำนอง หรือ ค่า ประกันภัยประกันชีวิต
- 2. ตรวจสอบดอกเบี้ยโปรโมชั่นที่จะย้ายไปใช้บริการว่า อยู่ในอัตราที่ดีที่สุดในระบบหรือไม่
- 3. ตวจสอบธนาคารดังกล่าวสามารถยื่นกู้ได้เกินกว่า หนี้เดิมหรือไม่ ถ้าได้ๆ มากแค่ไหน อัตราดอกเบี้ยส่วนที่เกินจากหนี้เดิมอยู่อัตราเท่าใด
- 4. เมื่อทราบต้นทุนแล้ว ก็มาถึงการประเมินราคาสินทรัพย์(บ้าน) ยื่นกู้กับธนาคารที่ ใช้บริการประเมินราคาที่ให้ราคาประเมินทรัพย์สินของท่านอย่างยุติธรรมบางธนาคารใช้บริษัทประเมินของตนเองบางธนาคารใช้ประเมินนอก
- 5. ทราบต้นทุน ทราบ ราคาประเมิน ทราบเงื่อนไขการยื่นกู้เกินหนี้เดิมแล้ว สิ่งสุดท้ายคือ ความสามารถในการผ่้อนชำระของท่าน รายได้ของท่านต้องเพียงพอที่จะชำระค่าสินเชื่อ ทั้งหมดที่ท่านประสงค์ที่จะยื่นกู้ ทั้งหมดนี้ คือ ส่วนที่ต้องคำนึง ถึง และตรวจสอบอย่างถี่่ถ้วนก่อนการยื่นกู้ก็จะทำให้ท่านได้เงื่อนไขที่ดี และ ได้อัตราดอกเบี้ยเหมาะสม พร้อมกับ วงเงินส่วนเกินทีนำมาหมุนเวียนได้ต่อไป
|
คำแนะนำ |
- สิ่งสำคัญของการทีี่เราต้องมีภาระหนี้สินในระยะยาวคืออัตราดอกเบี้ย ถ้าดอกเบี้ยของท่านไม่ได้เป็นแบบคงที่ตลอดอายุสัญญาท่านควรจะคอยตรวจสอบอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดอย่างสม่ำเสมอ และควรติดตามแนวโน้มในระยะ 2-3 ปี ว่าอัตราดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไร หากมีแนวโน้มสูงขึ้นมากๆ การรีไฟแนนซ์ถึงแม้ต้องมีอัตราค่าปรับในการรีไฟแนนซ์ก่อนกำหนด บางครั้งก็คุ้มค่า
|
|
|
|
|
" อยากได้สินเชื่อบ้าน สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านราคาสูงที่สุด ทำอย่างไร ลองโทรมาุคุยกันครับเบอร์ตรง 02-571-1923-5 "
|
|
|
CALL CENTER
02-571-2223
( 8 สายนอก 24สายใน ),02-571-1923-5 LineID :Refinance.co.th |
|
|
|
|
|
|
|